วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ศิลปกรรมสมัยใหม่กลุ่มลัทธิอิมเพรสชันนิสม์


ศิลปินแหกกฎกลุ่มนี้มีวิธีวาดภาพที่ไม่เหมือนก่อน ใช้กลวิธีป้ายสีที่ไม่เกลี่ย เพื่อให้สีเกิดการผสมกันในดวงตา สร้างความรู้สึกระยิบระยับแพรวพราวแทนความพยายามในการไกล่สีให้เรียบเนียน ให้คุณค่าของศิลปะที่ form มากกว่า content ประกาศตัวครั้งแรกในปี คศ.1874 
ลักษณะที่สำคัญคือ
1 การแสดงให้ผู้ชมงานศิลปะรับรู้ความรู้สึกประทับใจในครั้งแรกที่มอง
2 เน้นแสงและเงาเพื่อให้เกิดความประทับใจในครั้งแรกที่เห็นผลงาน
3 สี และผิวหน้าของภาพ texture มีความสำคัญมาก
4 เรื่องราวที่เห็นด้วยตามนุษย์มีความสำคัญก่วาการเพ้อฝัน
5 ธรรมชาติให้เพียงวัตถุดิบ มนุษย์เป็นผู้ปรุงแต่งให้รู้สึกประทับใจ
6 การตัดทอนรายละเอียดบางส่วนมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ความเบื่อหน่ายของศิลปินต่อรูปแบบเดิมๆเป็นแรงผลักดันให้เกิดงานของกลุ่มนี้ มีศิลปินสำคัญ ดังนี้

อีดูวาร์ด มาเนต์ (1832-1883AD.)ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำกลุ่มลัทธินี้ 




โคลด โมเนต์ (1840-1926AD.) ศิลปินที่มีชื่อเสียงมากมีบทบาทสูงต่อการยอมรับงานอิมเพรสชั่นนิสของสังคมในยุคนั้น โดยต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่จะได้รับการยอมรับ




เอ็ดการ์ เดกาส์ (1834-1917AD.)ชอบวาดภาพการเต้นรำ นางระบำ


 

ปิแอร์ ออกุส เรอนัวร์ (1841-1919AD.) เป็นผู้นิยมใช้สีสันสดใส ผลงานของเค้าเป็นที่นิยมมากๆแม้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ 

 

โรแดง (1840-1917AD).นักประติมากรรมแนวอิมเพรสชั่นนิส เน้นส่วนที่ต้องการแสดงออก ปล่อยรอยต่อเหลือริ้วรอยของเทคนิคให้ปรากฏบนงานเสมอ เช่น the kiss คศ.1886-1898
 


ศิลปกรรมลัทธินีโออิมเพรสชันนิสม์ (Neo-impressionism)

เฟลิกซ์ เฟเนออง (1861-1944AD.) ได้ให้คำนิยามผลงานของเค้า เซอราท์กับซียัคได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับลัทธิอิมเพรสชั่นนิสม์ที่มุ่งมั่นแสดงออกด้วยรูปทรงอันเลือนราง เสมือนสรรพสิ่งและสรรพธาตุไร้ความหมาย และต้องการเปิดเผยให้เห็นคุณสมบัติของแสงและสีและแสดงพลังสั่นสะเทือนของแสงให้ปรากฎออกมาตามปรากฏการณ์แสงและสีทางวิทยาศาสตร์ของนิวตัน เรียกอีกอย่างว่า ลัทธิจุดสี p0intilism หรือ divisionism ศิลปินที่สำคัญ 


จอร์จปิแอร์ เซอราต์ (1850-1891AD.) ฝึกฝนตนเองจากการคัดลอกผลงานยุคเก่าๆผสมผสานกับการเรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีแสงอาทิตย์อย่างละเอียดและจริงจัง มีภาพเขียนที่โด่งดังเป็นตัวแทนลัทธินี้คือ Sunday afternoon on the island of le grande jatte 

 


พอล เซยัค(1863-1935AD.)เป็นศิลปินฉลาดเฉลียวที่เผยแพร่ผลงานนีโออิมเพรสชั่นนิสม์สู่สาธารณชนได้อย่างแพร่หลาย 

 
Paul Signac Un Dimanche 1888-1890


คามิลล์ ปีสซาโร (1830-1903AD.)เริ่มจากเขียนภาพอิมเพรสชั่นนิสต์จนเป็นแกนนำลัทธิดังกล่าว จนภายหลังค่อยมาเปลี่ยนแนวเป็นนีโอ อิมเพรสชั่นนิสม์ และมีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง






ศิลปะลัทธิโพสท์อิมเพรสชันนิสม์ Post-Impressionism 

.ศิลปินในกลุ่มนี้เริ่มในปีคศ.1880-1905มีการเคลื่อนไหวในฝรั่งเศสในเวลาใกล้เคียงกับนีโออิมเพรสชั่นนิสม์ ต่างจากกลุ่มอื่นตรงที่แต่ละคนทำงานแยกอิสระต่อกัน รวมกลุ่มกันหลวมๆ เน้นการแสดงออก รูปทรง สี ภายใต้การสำแดงอารมณ์ภายในส่วนตน แบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่แสดงออกด้านอารมณ์(emotional aspect) ได้แก่ แวนโกะและโกแกง กลุ่มที่แสดงออกเกี่ยวข้องกับโครงสร้างทางศิลปะ(structural aspect) ได้แก่ เซซานน์และเชอราท์ 


พอล เซซานน์ (1839-1906AD.) มีความเชื่อว่า ศิลปะไม่ใช่การจำลองแบบ แต่เป็นการนำเสนอของศิลปินที่มีต่อความเป็นจริงนั้น ใช้สีเป็นผู้กำหนดความตื้นลึกหรือระยะใกล้ไกลแทนการใช้ลายเส้น 




The Card Players by Paul Cézanne



วินเซนต์ แวนโกะ (1853-1890AD.)เป็นศิลปินที่อาภัพ มีอารมณ์รุนแรง ทำงานหลายอาชีพ เช่น ครู พระ ก่อนที่จะมาเป็นศิลปิน ใช้ชีวิตคู่กับโกแกง แต่ภายหลังไม่ลงรอยกันขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจนทำให้แวนโกะจิตผิดปกติ และต่อมาอีกสองปี แวนโกะก็ปลิดชีพตัวเองด้วยปืนในที่สุด 


 
The Starry Night Van Goh 1889


พอล โกแกง (1848-1903AD.) มักวาดภาพ พิธีกรรม ชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆ โดยเฉพาะชาวอินเดียนแดง 
 


ทูลูส โลเทรค (1864-1901AD.) ศิลปินร่างกายแคระแกรนไม่เติบโต เลือกหยิบเอาชีวิตตามสถานเริงรมย์แห่งมองมาร์ตเป็นเรื่องหลักในผลงาน


 
Henri de Toulouse-Lautrec - The Kiss – 1892

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น